dc.contributor.advisor |
พรนภา หอมสินธุ์ |
|
dc.contributor.advisor |
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ |
|
dc.contributor.author |
ฉัตรชัย พิมาทัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:43:57Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:43:57Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10019 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทยปัจจุบัน การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาความชุกของการดื่มสุรา แบบเสี่ยงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบเสี่ยงของนักเรียนอาชีวศึกษาชายกลุ่ม ตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนอาชีวศึกษาชาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนทั้งหมด 240 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามการรับรู้สรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สัมพันธภาพกับครอบครัวแบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .78 .90 .79 .77 .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Binary logistic regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการดื่มสุราแบบเสี่ยง ร้อยละ 49.5 โดย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การใช้สารเสพติดอื่น (AOR = 5.76, 95 % CI = 1.71-19.43), การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเพื่อน (AOR = 3.54, 95 % CI = 1.41-8.91), การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 3.35, 95 % CI = 1.79-6.28), ความเครียด (AOR = 1.95, 95 % CI = 1.02-3.75) และทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 1.95, 95 % CI = 1.04-3.68) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสัมพันธภาพกับครอบครัว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลในครอบครัวและการยอมรับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบเสี่ยง ผลการวิจัยเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบและวิธีการป้องกันการดื่มสุราแบบเสี่ยงในนักเรียนอาชีวศึกษาชายที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเสริมสร้างทักษะการจัดการความเครียดและสมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมทั้งการมีทัศนคติที่เหมาะสมต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
นักเรียนอาชีวศึกษา -- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน |
|
dc.subject |
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
|
dc.title |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบเสี่ยงของนักเรียนอาชีวศึกษาชายจังหวัดศรีสะเกษ |
|
dc.title.alternative |
Fctors relted to hzrdous drinking mong mle voctionl students in sisket province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Alcohol use is still an important public health problem among Thai adolescents. The purposes of this correlational research were to identify the prevalence of hazardous drinking and to identify factors related to hazardous drinking among male vocational students. The study was conducted with 240 male vocational students in Sisaket province. Participants were selected through cluster random sampling. Research instruments were a demographic questionnaire, the alcohol use disorder identification test (AUDIT), and questionnaires measuring stress, alcohol drinking refusal self-efficacy, attitude towards drinking alcohol, and family attachment. Reliability coefficients were .98, .78, .90, .79, and .77, respectively. Data were analyzed via descriptive statistics and binary logistic regression. The results revealed that the prevalence of hazardous drinking was 49.5 %. Significant factors related to hazardous drinking among male vocational students were illicit drug use (AOR = 5.76, 95 % CI = 1.71-19.43), peer alcohol drinking (AOR = 3.54, 95 % CI = 1.41-8.91), alcohol drinking refusal self-efficacy (AOR = 3.35, 95 % CI = 1.79-6.28), stress (AOR = 1.95, 95 % CI =1.02-3.75), and attitude towards drinking alcohol (AOR = 1.95, 95 % CI = 1.04-3.68). Academic success, family attachment, family member’s drinking, and parental approval of drinking alcohol were not related to hazardous drinking. Results of the study can serve as basic information for community nurse practitioners and others involved in developing effective interventions to reduce hazardous drinking among adolescent male vocational students. Interventions should focus on enhancing stress management and drinking refusal self-efficacy, including increasing appropriate attitudes towards drinking alcohol. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|