DSpace Repository

ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของมารดาที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิริยา ศุภศรี
dc.contributor.advisor ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.author วันเพ็ญ ฤทธา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:43:55Z
dc.date.available 2023-09-18T07:43:55Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10008
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การทำงานของมารดาหลังคลอดเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างยิ่งในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียว 6 เดือนที่ทำ งานในโรงงานอุตสาหกรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนายเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่จะกลับไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมภายหลังคลอดบุตร จำนวน 155 ราย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และแบบสอบถามการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงงานอุตสาหกรรมค่าความ เชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .74, .73, .94, .92 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกและการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงงานอุตสาหกรรม สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 46.5 (R 2 = .465, F =(3, 151) 43.73, p< .001) โดยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากที่สุด (β = .495, p< .001) ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรจัดกิจกรรมการพยาบาลที่ส่งเสริมความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวโดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มอ้างอิงและโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับเพิ่มการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.title ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของมารดาที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
dc.title.alternative Fctors predicting intention to exclusive brestfeeding for 6 months mong working mothers in the industry
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Maternal work after childbirth is a major barrier to exclusive breastfeeding for 6 months. The study aimed to study factors predicting exclusive breastfeeding for 6 months for working mother industry. Samples were 155 working mothers with after delivery and returns to work in industry. Data were collected by questionnaires including demographic data, intention to exclusive breastfeeding for 6 months, attitude toward exclusive breastfeeding, subjective norm to exclusive breastfeeding, breastfeeding self-efficacy and industry support for breastfeeding. The Cronbach’s alpha of questionnaires were .74, .73, .94, .92 and .96 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression. The results found that subjective norm to exclusive breastfeeding, industry support breastfeeding and breastfeeding self-efficacy could be explained intention to practice exclusive breastfeeding for 6 months 46.5 percent of variance (R 2 = .465, F =(3, 151)43.73, p< .001). The subjective norm was the best predictor to intention exclusive breastfeeding for 6 months (β = .495, p< .001). The results of this study suggested that the nurses should promote exclusive breastfeeding intention and have their family and industry participation as well as promote breastfeeding self-efficacy among working mothers in the industry.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การผดุงครรภ์
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account