DSpace Repository

ปัจจัยทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายในจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
dc.contributor.advisor นิสากร ชีวะเกตุ
dc.contributor.author กฤษณพงศ์ ลาภผล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:43:53Z
dc.date.available 2023-09-18T07:43:53Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10001
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นต้องไม่กระทบต่อสุขภาพ การเรียน และชีวิตประจำวัน การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชาย ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาอายุ 14-19 ปี ในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 240 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล สื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ การจัดการอารมณ์ทางเพศ ประกอบด้วยการควบคุมอารมณ์ทางเพศการเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศและการปลดปล่อยอารมณ์ ทางเพศ ทัศนคติต่อการจัดการอารมณ์ทางเพศความรู้เรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศการปฏิบัติทางศาสนาอิทธิพลจากเพื่อน รูปแบบการเลี้ยงดูและการสื่อสารเรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศในครอบครัวโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ในช่วง .71-.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่สามารถทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายด้านการควบคุม อารมณ์ทางเพศได้ ได้แก่ อิทธิพลจากเพื่อน (β = -.394) ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ (β = -.330) สื่อกระตุ้น อารมณ์ทางเพศ (β = -.196) การสื่อสารเรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศในครอบครัว (β = -.158) และการปฏิบัติ ทางศาสนา (β = .123) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 46.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 (R 2 = .461, p< .001) 2) ปัจจัยที่สามารถทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายด้านการเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศได้ ได้แก่ การสื่อสารเรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศในครอบครัว (β = .247) อิทธิพลจากเพื่อน (β = .244) ระดับการศึกษา (β = -.156) และความรู้เรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศ (β = .125) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 15.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 (R 2 = .155, p< .001) และ 3) ปัจจัยที่สามารถทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายด้านการปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศได้ ได้แก่ ประสบการณ์การมีเพศสัม พันธ์ (β = .456) อิทธิพลจากเพื่อน (β = .225) และสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ (β = .167) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 38.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 (R 2 = .388, p< .001) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้โดยส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรู้เรื่องจัดการอารมณ์ทางเพศการรู้เท่าทันสื่อต่าง ๆ ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ส่งเสริมให้ครอบครัวและเพื่อนได้มีการสื่อสารเรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศร่วมกันกับวัยรุ่น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.subject อารมณ์ทางเพศ
dc.subject วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ
dc.title ปัจจัยทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายในจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Fctors predicting sexul rousl mngement mong mle dolescentsin chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Sexual arousal management among male adolescents should not have a harmful effect on health, study, and daily life. The predictive correlational study was aimed to identify predictive factors of sexual arousal management among male adolescents in Chon Buri province. The samples were240 high school and vocational students at the age of 14-19 in Chon Buri province recruited, by multi-stage random sampling. The research tools werequestionnaires consisting of personal factors, media stimulating sexual desire, sexual arousal management as well as controlling, deviating, and releasing sexual emotion, attitude towards sexual arousal management, knowledge about sexual arousal management, religious practices, influence from friends, parenting styles and communication regarding sexual arousal management. The Cronbach’s alpha reliability coefficient values of questionnaires were .71-.93. Descriptive statistics and Stepwise multiple regression were employed for data analysis. The results revealed that 1) the influencing of controlling sexual emotion were factors influence from friends (β = -.394), experience in sexual intercourse (β = -.330), media stimulating sexual arousal (β = -.196), communication regarding sexual arousal management (β = -.158) and religious practices (β = .123) at 46.1% with a statistic significance level of < .001 (R 2 = .461, p< .001), 2) the influencing of deviating from sexual emotion were factors communication regarding sexual arousal management (β = .247), influence from friends (β = .244), education level (β = -.156) and knowledge about sexual arousal management (β = .125) at 15.5% with a statistic significance level of < .001 (R 2 = .155, p< .001) and 3) the influencing of releasing sexual emotion were factors experience in sexual intercourse (β = .456), influence from friends (β = .225) and media stimulating sexual arousal (β = .167) at 38.8% with a statistic significance level of < .001 (R 2 = .388, p< .001). The finding suggested that community nursing should be modified to strengthen knowledge about sexual arousal management, increase media literacy, promote religious activities participation, by involve family and friends communications.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account