กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1431
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการเรียนรู้และอาชีพของผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์สถานการณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of learning and occupation for the elderly: Situation analysis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์
อนามัย เทศกะทึก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้
ผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการและปัญหาการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่จดทะเบียนรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาลเมืองแสนสุขที่ยังประกอบอาชีพอยู่ จำนวนทั้งหมด 385 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อคำถาม เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปด้านประชากรและอาชีพผู้สูงอายุ ความสามารถในการทำงาน ความต้องการและปัญหาการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด และสถิติอ้างอิงในรูปของการทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมีอายุระหว่าง 60-84ปี ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะภาพสมรสและมีระดับการศึกษา ในระดับประถมศึกษา งานในปัจจุบันที่ทำส่วนการค้าขายธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือ รับจ้างทั่วไป การทำงานในแต่ละวัน ส่วนใหญ่ทำงานวันละ 4-8 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ทำงานเดือนละมากกว่า 20 วัน รายได้ต่อคนส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเดือนละ 5001-10000 บาท ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ (56.57%) และไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง (49.85%) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่พัฒนาความรู้หรือทักษะในการทำงาน ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะในการทำงานในด้าน ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน คณิตศาสตร์ การพัฒนาธุรกิจ การพัฒนาอาชีพ ด้านต่างๆ ทักษะการทำงานให้มีประสิทธิภาพและมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการเปรียบเทียบปัญหาการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาด้านการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองและด้านการได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆ ในแต่ละกลุ่มอายุมีความแตกต่างกัน โดยพบว่าอายุ 60-64ปี มีปัญหาสูงกว่าในกลุ่มอายุ 65-69 ปี และ 70-74 ปีตามลำดับ กลุ่มอาชีพประมง และกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป มีปัญหาด้านการได้รับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น การเปรียบเทียบความต้องการด้านการฝึกนิสัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและด้านการได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆ พบว่า กลุ่มรายได้ 5001-10000 บาท มีความต้องการสูงกว่าในกลุ่มรายได้อื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 60-64 ปี ที่มีรายได้น้อยและไม่มายได้เสริมซึ่งเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1431
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2569-001.pdf3.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น