Abstract:
พฤติกรรมการสอนของครูมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ โดยครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน หากส่งเสริมแรงจูงใจภายในที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครู จักก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ เป้าหมายการสอน และพฤติกรรม การสอนของครู 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์พหุคูณตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ เป้าหมายการสอน และพฤติกรรมการสอนของครู 3) เพื่อสร้างสมการทำนายพฤติกรรมการสอนของครู ด้วยตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ และเป้าหมายการสอน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของครู จำแนกตามประสบการณ์การสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 157 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเป็นสัดส่วน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1,570 ฉบับ โดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็นแบบสอบถามสำหรับครูและแบบสอบถามสำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ความสัมพันธ์พหุคูณ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างตัวแปรทำนายกับพฤติกรรมการสอนของครู และวิเคราะห์ ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ เป้าหมายการสอน และพฤติกรรมการสอนของครู มีความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ตัวแปรพฤติกรรมการสอนของครู มีความสัมพันธ์พหุคูณกับตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ และเป้าหมายการสอน 3) ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ และเป้าหมายการสอน สามารถสร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนายพฤติกรรมการสอนของครูได้ ดังนี้ สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ = .744 + .154(SE)** + .151(IN)** + .103(INT)* + .157(TG)** สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ = .154Z**SE + .151Z**IN + .103Z*INT + .157Z**TG 4) ครูที่มีประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการสอนของครูไม่แตกต่างกัน